
SDG 2: Zero hunger
ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตร กรรมที่ยั่งยืน
(End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture)
งานวิจัย / การสำรวจ / ผลการศึกษา (2 รายการ)
1.งานวิจัย : การพัฒนามันสำปะหลังสายพันธุ์ “พิรุณ 1” และ “พิรุณ 2”
หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่องานวิจัย: (Research topic): | การพัฒนามันสำปะหลังสายพันธุ์ “พิรุณ 1” และ “พิรุณ 2” |
คณะ/สาขาวิชา (Faculty/Program): | สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): | มันสำปะหลังเป็นรากฐานหนึ่งของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีเท่าเดิม แต่ความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น ดังนั้นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังก็คือ การพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา (Scope of research/Study Areas): | พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั่งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก / ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.ระยอง, จ.นครราชสีมา |
วัตถุประสงค์ (objectives): | เพื่อพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตหัวสดมากกว่า 5 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสดใกล้เคียง 30 เปอร์เซ็นต์ |
แหล่งทุนสนับสนุน (Funding agencies): | มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) |
หน่วยงานที่ร่วมมือ (Cooperative agencies): | กรมวิชาการเกษตร และ Kazusa DNA Research Institute, Kisarazu, Chiba, JAPAN |
ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders): | เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง นักวิจัยและนักวิชาการเกษตร |
ระดับความร่วมมือ (Cooperation level): | ระดับนานาชาติ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (Results and impacts) (ระบุวันที่มีการนำไปใช้) (Specify the date it is used) | เกษตรมีการนำมันสำปะหลังสายพันธุ์ “พิรุณ 1” และ “พิรุณ 2” ไปปลูกเพื่อการค้าและแปรรูป เช่น จ.สุพรรณบุรี |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference): | https://www.kubotasolutions.com/knowledge/cassava/detail/375 https://www.nstda.or.th/nac/2018/seminar/83-seminar13mar/132-13pmsshwork2.html https://www.thairath.co.th/news/local/1287281 https://mb.mahidol.ac.th/en/kanokporn-triwitayakorn/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): | ![]() ![]() |
2.งานวิจัย : กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1
หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่องานวิจัย: (Research topic): | กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1 |
คณะ/สาขาวิชา (Faculty/Program): | ศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): | กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญที่อันดับต้นๆ ที่มีมูลค่าสูง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเนื่องจากมีเนื้อมากและมีมันที่หัวที่อร่อย นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มยำ เผา หรือย่าง แต่ปริมาณผลผลิตกุ้งก้ามกรามนั้นมีความไม่แน่นอน เนื่องจากมีอัตรารอดต่ำ โตช้า ขาดแคลนลูกกุ้งก้ามกรามที่มีคุณภาพ ปลอดโรค รวมถึงเกษตรกรเสียโอกาสในการจำหน่ายผลผลิต เนื่องจากผลผลิตกุ้งก้ามกรามมีสัดส่วนเพศเมียและกุ้งจิ๊กโก๋ มากกว่ากุ้งก้ามกรามเพศผู้ โดยเพศเมียและกุ้งจิ๊กโก๋มีราคาถูกกว่ากุ้งเพศผู้ค่อนข้างมาก จึงได้มีการพยายามปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้ได้กุ้งที่มีคุณภาพดี อัตรารอดสูง โตเร็ว ปลอดโรค และพัฒนาเทคนิควิธีการคัดแยกเพศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโดยเป็นการเลี้ยงแบบเพศผู้ล้วน เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ เช่น อัตรารอดสูง โตเร็ว และระยะเวลาเลี้ยงสั้นลง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าและเพิ่มโอกาสในการส่งออกกุ้งก้ามกรามไปสู่ตลาดโลก |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา (Scope of research/Study Areas): | เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบ ชีวโมเลกุลสำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้ |
วัตถุประสงค์ (objectives): | 1. เพิ่มผลผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็ว มีคุณภาพ 2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ |
แหล่งทุนสนับสนุน (Funding agencies): | มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่ร่วมมือ (Cooperative agencies): | บรรจงฟาร์ม และประกอบฟาร์ม |
ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders): | โรงเพาะฟัก ฟาร์มอนุบาลกุ้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งบ่อดิน และผู้บริโภค |
ระดับความร่วมมือ (Cooperation level): | ระดับชาติ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (Results and impacts) (ระบุวันที่มีการนำไปใช้) (Specify the date it is used) | เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่เกษตรกร |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference): | https://www.youtube.com/watch?v=xzLmetnToys https://www.youtube.com/watch?v=QYCx73pPIGg https://www.youtube.com/watch?v=QYCx73pPIGg https://www.youtube.com/watch?v=rz0FIGsE2Bw https://www.thaipost.net/main/detail/50649 |
รูปภาพประกอบ (Picture): | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
+ Activity / Lecture
+ Conference / Meeting