
สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
(Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
1. งานวิจัย:
การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่องานวิจัย (Research topic): |
การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย |
คณะ/สาขาวิชา (Faculty/Program): |
ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ, ดร.ปราณี ฟู่เจริญ, |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา (Scope of research/Study Areas): |
พัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียในระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ |
วัตถุประสงค์ (objectives): |
เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ |
แหล่งทุนสนับสนุน (Funding agencies): |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่ร่วมมือ (Cooperative agencies): |
กระทรวงสาธารณสุข |
ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders): |
คู่สมรสที่จะมีบุตร ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย กระทรวงสาธารณสุข |
ระดับความร่วมมือ (Cooperation level): |
ระดับประเทศ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (Results and impacts) (ระบุวันที่มีการนำไปใช้) (Specify the date it is used) |
แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย พฤศจิกายน 2557 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป กันยายน 2560 |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference): |
https://www.facebook.com/mb.mahidol/photos/a.10151471908580170/10157044784870170/?type=3&theater https://mb.mahidol.ac.th/en/workshop-thalassemia-analysis/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() |

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project name): |
การอบรมวิชาการ “คุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียก็มีได้ 2562 ” |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังถ่ายทอดทางพันธุกรรม ร้อยละ 30-40 ของประชากรไทยเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Period of activities/Projects): |
เมษายน 2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project location): |
ห้องประชุมจตุภัทร ชั้น 4 โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย (Related departments/Stakeholders): |
ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครปฐม |
วัตถุประสงค์ (Objectives): |
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคธาลัสซีเมีย ให้แก่ผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกลุ่มผู้ป่วย ญาติ/เจ้าหน้าที่ 2. เพื่อให้บุคลากรในทีมผู้ดูแลผู้ป่วยมีเจตคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Project activities): |
เป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ตลอดจนการดูแลรักษาให้แก่ผู้ป่วย และผู้เกี่ยวข้อง การป้องกันและการควบคุมโรคทางพันธุกรรม โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย และบอกกล่าวเล่าประสบการณ์โดยผู้ป่วยธาลัสซีเมีย พร้อมทั้งมีกิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ทำให้ผู้ป่วย |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target groups / Participants): |
ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ญาติผู้ป่วย และประชาชนผู้สนใจ |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
113 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม (Results and outcomes of the project/activity): |
ผู้ป่วย ญาติ ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคธาลัสซีเมีย การรักษา การดูแลตลอดจนการป้องกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วย/ญาติสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference operation): |
https://mb.mahidol.ac.th/th/thalassemia-training2019/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() ![]() |
2. กิจกรรม: การอบรมเชิงปฎิบัติการ “การประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารทักษะ EF ในเด็กปฐมวัย”

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project name): |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารทักษะ EF ในเด็กปฐมวัย” |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
การศึกษาปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะช่วงปฐมวัยเป็นโอกาสทองที่สมอง |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Period of activities/Projects): |
เมษายน 2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project location): |
ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณสิรินทร์ พิบูลนิยม ห้องบรรยาย A107 และห้องบรรยาย A108 สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย (Related departments/Stakeholders): |
ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล /ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ปกครองเด็ก/ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย |
วัตถุประสงค์ (Objectives): |
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของการพัฒนาสมองด้านการคิดและการกำกับตนเองของเด็กอย่างถูกต้อง ส่งเสริมพัฒนาการด้านการคิดและการกำกับตนเองที่เหมาะกับเด็กวัย 2-6 ปี 2. เพื่อให้ครูปฐมวัยเข้าใจหลักการประเมินพัฒนาการด้าน EF โดยการสังเกตพฤติกรรมเด็กในชั้นเรียน และสามารถประเมินพัฒนาการด้าน EF ในเด็กอายุ 2-6 ปี 3. เพื่อให้ครูปฐมวัยเข้าใจหลักการประเมินปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความบกพร่องด้าน EF โดยการสังเกตพฤติกรรมเด็กในชั้นเรียนได้ |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Project activities): |
แบ่งเป็นสองส่วนคือ ภาคบรรยาย มีเนื้อหาที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของการพัฒนาสมองด้านการคิดและการกำกับตนเองของเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ รวมทั้งแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการคิดและการกำกับตนเองที่เหมาะกับเด็กวัย 2-6 ปี ภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติการ มีเนื้อหาที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการทฤษฎีพื้นฐาน ฝึกใช้แบบประเมินพัฒนาการด้าน EF (UM.EF-101) แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมปัญหาความบกพร่องของ EF (MU.EF 102) ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินและแปลผลประเมินได้ การนำผลประเมินไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target groups / Participants): |
ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก ครูอนุบาล ครูการศึกษาพิเศษ กุมารแพทย์ พยาบาลเด็ก นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัดเฉพาะทางเด็ก และผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย/p> |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
69 ราย |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม (Results and outcomes of the project/activity): |
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพัฒนาการสมองด้านการคิดและการกำกับตนเองในเด็กเล็ก รวมทั้งเข้าใจปัญหาพฤติกรรมในเด็ก |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference operation): |
https://mb.mahidol.ac.th/th/executive-functions-ef/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() |
3.กิจกรรม: การอบรม เรื่อง องค์ความรู้ด้านสมองสู่การนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย และการวิจัยทางคลินิก

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project name): |
การอบรม เรื่อง องค์ความรู้ด้านสมองสู่การนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย และการวิจัยทางคลินิก |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
องค์ความรู้ด้านสมองเป็นสิ่งที่คนในสังคมได้ให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก ทำอย่างไรให้สมองมีการพัฒนาเป็นอย่างดี ทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะกิจกรรมที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดขึ้นจากการทำงานของสมองและระบบประสาททั้งสิ้น นอกจากนี้ความผิดปกติในการทำงานของสมองยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาหลายด้าน เช่น การพัฒนาการล่าช้าในเด็ก ปัญหาการเรียนรู้ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ความบกพร่องในการเข้าสังคม รวมไปถึงการเกิดโรคทางระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่อมในวัยผู้ใหญ่ หรือโรคทางจิตเวช เป็นต้น การนำองค์ความรู้ด้านสมองมาใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและจิตเวชอย่างมีหลักฐานข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์สนับสนุน ดังนั้น แนวทางในการดูแลผู้ป่วยในปัจจุบันและในอนาคตจะไม่เพียแต่ต้องอาศัยทักษะและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคของบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น หากแต่ยังควรต้องอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลคนไข้ด้วย เพราะข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานจะเป็นส่วนสำคัญในความเข้าใจต่อกลไกการเกิดโรค และนำไปสู่การประยุกต์แนวทางหรือทฤษฎีใหม่ๆ ในการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ยังมีการนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกค่อนข้างน้อย ขาดการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างสาขาวิชา จึงทำให้มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยจริง รวมถึงการขาดความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการค้นคว้าวิจัย และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ดำเนินการวิจัยด้านสมองและระบบประสาท โดยมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาและการทำงานของสมอง ความเข้าใจในพยาธิกำเนิดของโรคทางระบบประสาทและจิตเวช อาศัยการทดลองทั้งในระดับเซลล์และโมเลกุล ระดับสัตว์ทดลอง และในคนปกติ มาใช้ร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจต่อกลไกต่างๆ อย่างลึกซึ้ง รวมถึงการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาในมนุษย์ที่เจ็บป่วยจากโรคทางระบบประสาทและโรคจิตเวช ภายใต้การทำบันทึกความเข้าใจกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น ในการนี้ ทางศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์มีความตั้งใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดูแลคนไข้และการทำวิจัยต่อยอดในทางคลินิกต่อไป เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและจิตเวช รวมถึงการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน มาใช้ในการทำวิจัยทางคลินิก ดังนั้น การจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ไม่เพียงแค่การให้ความรู้เกี่ยวกับผลงานวิจัยด้านสมองที่ทางศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์เคยทำมาแล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นการนำองค์ความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Period of activities/Projects): |
วันที่ 14–15 มกราคม 2564 (เป็นช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา รัฐบาลให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติงานที่บ้าน WFH) |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project location): |
บรรยายระบบออนไลน์ Zoom ณ ห้องประชุม A107 ชั้น 1 อาคารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย (Related departments/Stakeholders): |
ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล |
วัตถุประสงค์ (Objectives): |
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน สู่การนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 2. เพื่อเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานกับความรู้ทางคลินิก 3. เพื่อเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยจากด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานไปสู่การวิจัยทางคลินิก |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Project activities): |
ภาคบรรยาย มีเนื้อหาที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง และการทำงานของระบบประสาท และตอบข้อซักถามผ่านระบบออนไลน์ |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target groups / Participants): |
พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสาธารณสุข และบุคลากรทางสาธารณสุขอื่น ๆ |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
34 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม (Results and outcomes of the project/activity): |
ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง และการทำงานของระบบประสาท รวมถึงสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานไปใช้ในการทำวิจัยทางคลินิกเพื่อต่อยอดผลงานวิจัยได้ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference operation): |
— |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() ![]() |

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่องานสัมมนา (Conference or meeting name) : |
การประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ ครั้งที่ 31 |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
ปัจจุบันวิธีการและเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์และการบำบัดรักษาผู้ป่วยทั้งที่เป็นผู้ป่วยวิกฤติและผู้ป่วยอื่นๆ คุณภาพของการดูแลสุขภาพ มีองค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วย ความปลอดภัย (safe) ทันเวลา (timely) ความมีประสิทธิผล (effectiveness) ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient centered) และความเป็นธรรม (equitable) องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงควบคู่กับการขับเคลื่อนไปสู่สถานพยาบาลที่เป็นสมาร์ทฮอสพิทัล และเฮลท์แคร์ 4.0 (Smart Hospital and Healthcare 4.0) ปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนมากในประเทศไทยอยู่ในระยะของการรับรองคุณภาพ (HA) รับรองมาตรฐานและคุณภาพสถานประกอบการทางสาธารณสุขต่างๆ (Healthcare 3.0) และมีความพยายามในการก้าวไปสู่ Healthcare 4.0 ทั้งนี้ นโยบายพัฒนาความเป็นเลิศด้านระบบบริการเพื่อให้เป็นโรงพยาบาลสมาร์ทฮอสพิทัล การนำเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่มีความก้าวหน้ามาใช้อย่างสอดคล้องกัน เพื่อการขับเคลื่อนไปสู่ Smart Hospital and Healthcare 4.0 โดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาให้บริการที่ผสมประสานกันอย่างเหมาะสมด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อการวิเคราะห์ประมวลผล และสังเคราะห์เป็นแผนการบริหารจัดการของโรงพยาบาล คณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ฯ ได้พิจารณาถึงความสำคัญข้างต้นและเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ได้เห็นประจักษ์ ตระหนักและเรียนรู้วิธีการ เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานให้มีความต่อเนื่อง ก้าวหน้าและทันสมัย อีกทั้งเพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีต่อผู้ป่วย โดยสามารถประมวลและประเมินผลของการวิเคราะห์ด้านต่างๆ คณะกรรมการดำเนินการจัดการประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ฯ จึงได้จัดประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ ครั้งที่ 31 เรื่อง “สมาร์ทฮอสพิทัล และเฮลท์แคร์ 4.0” (Smart Hospital and Healthcare 4.0) เป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับมุมมองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา ตลอดจนโอกาสการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวคิดและประเด็นเนื้อหาต่างๆ เช่น Smart Hospital, Pharmacy Automation, Artificial Intelligence, Medical Internet of Things (loT), Big Data, machine Learning and medical Robotic และ Ambulance Operating System (AOS) และอื่นๆ |
หัวข้อในการจัดสัมมนา (Seminar topics): |
สมาร์ทฮอลพิทัล และเฮลท์แคร์ 4.0 |
สถานที่จัดงาน (Event location): |
ห้องประชุมกษัตริย์ศึก 2 ชั้น 4 โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ถนนพระราม 6 ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน (Agency that organizes the event): |
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมอุปกรณ์การแพทย์ไทย |
บทบาทของหน่วยงาน (Agency role): |
เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม |
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน (Objectives of the event): |
1. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าประชุม ประกอบด้วย แพทย์และพยาบาลสาขาวิชาต่างๆ วิศวกรชีวการแพทย์และช่างอุปกรณ์การแพทย์ ได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทางการแพทย์ต่างๆ ที่ก้าวหน้านำสมัย เพื่อการเตรียมความพร้อมมุ่งมั่น สู่สมาร์ทฮอสพิทัล และเฮลท์แคร์ 4.0 |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
จำนวน 139 ราย ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล เภสัชกร วิศวกร นักอุปกรณ์ชีวการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์และช่างอุปกรณ์การแพทย์ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจอื่นๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม (Event period): |
1-2 สิงหาคม 2562 |
ข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนา (ถ้ามี) (Conference conclusions from the event) (if any): |
|
ผลลัพธ์ที่ได้จากการสัมมนา (ถ้ามี) (Conference Results and outcomes of the event) (if any): |
1. ผู้เข้าประชุมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์เพิ่มมาก ขึ้นแก่บุคลากรทางการแพทย์ |
Web link อ้างอิงการดำเนินการ (Web reference operation): |
https://mb.mahidol.ac.th/medequip/conference2019/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() |