Caution: JavaScript execution is disabled in your browser or for this website. You may not be able to answer all questions in this survey. Please, verify your browser parameters.

แบบประเมินการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำระดับสูง/คณะกรรมการบริหาร
ประจำปีงบประมาณ 2567

คำชี้แจง

1. การประเมินการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำระดับสูงในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารงานและการดำเนินงานของคณะผู้บริหารสถาบัน โดยขอรับรองว่าจะไม่มีผลต่อผู้ตอบแบบสอบถามในทุกกรณี

2. ผู้นำระดับสูงหมายถึง – ผู้อำนวยการสถาบัน, รองผู้อำนวยการสถาบัน, ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน

3. การประเมินนี้จะเป็นการประเมินการบริหารงานในภาพรวมของคณะผู้บริหารทั้งหมด

(This question is mandatory)
ตอนที่ 1    ข้อมูลทั่วไป : ประเภทบุคลากร         
(This question is mandatory)

ตอนที่ 2  คำถามเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำระดับสูง
*ผู้นำระดับสูง หมายถึง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการ
(5 = มากที่สุด  4 = มาก  3 = ปานกลาง   2 = น้อย  1 = น้อยที่สุด)

หลักการหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(4 หลักการสำคัญ 10 หลักการย่อย)

    1. การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
►1. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) 
               
 1.1 ผู้นำระดับสูงมีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม 

1.2 ผู้นำระดับสูงมีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและไม่มีความจำเป็น

2. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)

2.1 ผู้นำระดับสูงมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันฯ

2.2 ผู้นำระดับสูงมีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและอยู่ในระดับที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาคม สร้างกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน

2.3 ผู้นำระดับสูงมีการจัดการความเสี่ยงและมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

►3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)
3.1 ผู้นำระดับสูงสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 

3.2 ผู้นำระดับสูงสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม

2. ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value)
►4.หลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability)

4.1 ผู้นำระดับสูงสามารถตอบคำถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย รวมทั้งต้องมีการจัดวางระบบการรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและการให้คุณให้โทษ 

4.2 ผู้นำระดับสูงมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

►5. หลักเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency)
5.1 ผู้นำระดับสูงปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา 

5.2 ผู้นำระดับสูงมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้ให้ประชาคมได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนวางระบบให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นไปโดยง่าย

►6. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
6.1 ผู้นำระดับสูงใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่าง ๆ 

►7. ความเสมอภาค (Equity)
7.1 ผู้นำระดับสูงให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกด้านชายหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม 

7.2 ผู้นำระดับสูงมีการคำนึงถึงโอกาสความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงบริการสาธารณะของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย

3. ประชารัฐ (Participatory State)
►8.หลักการมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ (Participation/Consensus Oriented)

8.1 ผู้นำระดับสูงรับฟังความคิดเห็นของประชาคม รวมทั้งเปิดให้ประชาคมมีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องร่วมคิดแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานและร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน 

8.2 ผู้นำระดับสูงมีความพยายามในการแสวงหาฉันทามติหรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะต้องไม่มีข้อคัดค้านที่หาข้อยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ

9. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)

9.1 ผู้นำระดับสูงมีการมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 

9.2 ผู้นำระดับสูงมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่หน่วยงานส่วนอื่น ๆ

4.ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) 
►10.หลักคุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics)

10.1 ผู้นำระดับสูงมีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคม

10.2 ผู้นำระดับสูงยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ท่านมีประเด็นใดที่ไม่พึงพอใจหรือไม่ (ถ้ามี โปรดระบุ)