
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤดี ธารรำลึก
กลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับโมเลกุล
ชีวสารสนเทศเชิงโครงสร้าง เผยให้เห็นโครงสร้างโปรตีนตรงส่วนหนาม (spike protein) ที่ผิวของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์เบงกอล ซึ่งเกิดการกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าทำไมโคโรนาไวรัสสายพันธุ์เบงกอลจึงแข็งแกร่งมาก
ไวรัสกลายพันธุ์หมายความว่าอย่างไร เราเรียนชีวเคมีแล้วมีประโยชน์อย่างไรในการเข้าใจโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ มาดูกันว่าทำไมโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ India variant triple mutation ของเบงกอลถึงแข็งแกร่งมาก
เทคนิคเอกซเรย์ คริสตัลโลกราฟี (x-rays crystallography) หรือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (cryo-electron microscopy) ทำให้เราได้เห็นโครงสร้างโปรตีนตรงส่วนหนาม (spike protein) ที่ผิวของโคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นบริเวณมีผลต่อความสามารถในการแพร่เชื้อของไวรัสและประสิทธิภาพของวัคซีน
ผศ. ดร.ดวงฤดี ธารรำลึก จากกลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับโมเลกุล สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ได้สร้างแบบจำลอง 3 มิติ โดยใช้ชีวสารสนเทศเชิงโครงสร้าง (Structural Bioinformatics) ในการวิเคราะห์และทำนายผลการกลายพันธุ์ในโคโรนาไวรัส สายพันธุ์เบงกอล กลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง หรือ Coronavirus West Bengal Triple Mutation (B.1.618) พบว่าการกลายพันธุ์ในสายพันธุ์เบงกอล B.1.618 ทั้ง 3 ตำแหน่งนี้อยู่ในบริเวณตัวรับ Receptor-binding domain ของ spike protein ส่งผลให้ไวรัสสายพันธุ์นี้แข็งแกร่งขึ้นมาก มีความสามารถในการเพิ่มอัตราการติดเชื้อสูงขึ้น และหลบหลีกภาวะภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อได้
ติดตามรายละเอียดและยลโฉมโคโรน่าไวรัส สายพันธุ์เบงกอล กลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=vjmkRuJ-B8A