ศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง

สถาบันฯ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากการใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุล มาต่อยอดและถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการผลิตกุ้ง โดยมีผลงานที่โดดเด่นได้แก่ แม่กุ้งก้ามกรามที่ให้ลูกกุ้งเพศผู้ และการผลิตลูกกุ้งโดยไม่ตัดตาเพื่อหลีกเลี่ยงการทรมานสัตว์ เป็นการลดต้นทุนการผลิตกุ้งของเกษตรกร ศูนย์วิจัยฯ มีบทบาทสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมในการเผชิญปัญหาของการผลิตกุ้งของเกษตรกรซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้ศูนย์วิจัยฯ ยังมุ่งมั่นที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน (Mutual benefit) และเชื่อมโยงกับสาธารณะ (Public engagement) ส่งผลให้ศูนย์วิจัยฯ เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมให้สถาบันฯ ก้าวสู่ความเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social enterprise)

ศูนย์วิจัยฯ มีอาคารเลี้ยงสัตว์น้ำ ขนาดพื้นที่โดยประมาณ 872 ตารางเมตร ที่มีระบบการเลี้ยงและผลิตกุ้งที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยมีระบบหมุนเวียนและจัดการน้ำเค็มมาใช้ใหม่ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินการสู่การขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จากกรมประมง เพื่อเป็นต้นแบบของการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในกุ้งที่ได้มาตรฐาน นำไปสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตกุ้งของประเทศ

 

ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล
นักวิจัย ระดับ 2

หัวหน้าศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง

 รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ อุดมกิจ

รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพร องศ์วรโสภณ

ดร.พงโสภี อัตศาสตร์
นักวิจัย ระดับ 3

ดร.ภัทรันดา จารีย์