แบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการร้องเรียน
มีแบบฟอร์มฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ดาวน์โหลดได้



Complaint
- ข้อร้องเรียน (นิยาม)
- เหตุแห่งการร้องเรียน/ประเภทของข้อร้องเรียน
- บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียน
- ระบบการบริหารจัดการข้อร้องเรียนของสถาบันฯ
- รายชื่อคณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียน
- ช่องทางร้องเรียน
- หลักเกณฑ์การรับ-ไม่รับพิจารณาข้อร้องเรียน
- การเก็บรักษาความลับ
- สถิติเรื่องร้องเรียนประจำปีพ.ศ. 2561
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB
เหตุแห่งการร้องเรียน/ประเภทของข้อร้องเรียน
(1) ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่หรือส่วนงาน ได้แก่ ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับการกระทำใดที่มีผลก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ร้องเรียน
1.1 การประพฤติผิดมิชอบในหน้าที่ และการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
1.2 การจัดการศึกษาไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
1.3 การบริหารงานบุคคล เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การมอบหมายงาน การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น การลา การกำหนดค่าตอบแทน การเปลี่ยนและโอนย้ายตำแหน่ง เป็นต้น
1.4 ทุนการศึกษา เช่น การจัดสรรทุนการศึกษาที่ได้ไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด การพิจารณาคุณสมบัตินักศึกษาผู้มีสิทธิได้รับทุนการศึกษาไม่ชอบ/ไม่เป็นธรรม
1.5 การคัดลอกผลงานทางวิชาการและวรรณกรรม (Plagiarism)
1.6 อื่นๆ
(2) ข้อร้องเรียนการให้บริการ ได้แก่ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงาน
(3) ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือการให้บริการของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงาน และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
หมายเหตุ นิยามตามข้อ 1 ในประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวทางการจัดการข้อร้องเรียน พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2560
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียน
1 จัดทำบัญชีและทะเบียนคุมรับเรื่องราวร้องเรียน
2. กำหนดหลักเกณฑ์การรับ การพิจารณา และการจัดการข้อร้องเรียนของสถาบันฯ ให้สอดคล้องกับแนวทาง ข้อบังคับ หรือประกาศของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
3. รับและดำเนินการเรื่องร้องเรียน โดยเริ่มตั้งแต่พิจารณาและวินิจฉัยข้อร้องเรียน ให้คำแนะนำและคำปรึกษาปัญหาความเดือดร้อนของนักศึกษา บุคลากร ผู้รับบริการ และลูกค้ากลุ่มอื่น
4. ให้ความช่วยเหลือในด้านการดำเนินการแก้ไขปัญหา และจัดทำรายงาน พร้อมเร่งรัดการ ดำเนินงาน
5. ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. รายงานผลการดำเนินการ และแจ้งผลความคืบหน้าให้นักศึกษา บุคลากร/ผู้รับบริการ ทราบภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียนประจำสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลกำหนด
7. รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการประจำสถาบันฯ ทราบทุก 6 เดือน
8. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB
รายชื่อคณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียน
(1) | ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล narattaphol.cha@mahidol.ac.th |
ที่ปรึกษา |
(2) | รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร apinunt.udo@mahidol.ac.th |
ประธานกรรมการ |
(3) | รองผู้อำนวยการฝ่ายคลัง พัสดุ และรายได้ narisorn.kit@mahidol.ac.th |
กรรมการ |
(4) | เลขานุการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล natthanit.sri@mahidol.edu |
กรรมการ |
(5) | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทร สรรพานิช arthorn.san@mahidol.ac.th |
กรรมการ |
(6) | นางสุปราณี สุขกมลสันติพร supranee.suk@mahidol.edu |
กรรมการ |
(7) | รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพร องศ์วรโสภณ chalermporn.ong@mahidol.ac.th |
กรรมการ |
(8) | นางสาวชนิกานต์ บุญช่วย chanikarn.boo@mahidol.ac.th |
กรรมการ |
(9) | นายชาตรี มานะอุดมการ chatri.man@mahidol.ac.th |
กรรมการ |
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB
ช่องทางร้องเรียน
หมายถึง ช่องทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการรับเรื่องร้องเรียน ดังนี้
(1) ติดต่อด้วยตนเอง โดยผู้รับบริการสามารถขอรับแบบแจ้งข้อร้องเรียนได้ที่ กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
(2) ทางไปรษณีย์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ส่งไปที่ กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี
(3) ตู้รับฟังความเห็นของมหาวิทยาลัย
(4) ส่งไปยังช่องทางที่ส่วนงานกำหนด
- ตู้รับฟังความเห็นของส่วนงาน
- E-mail มายังเลขาฯ คณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียนประจำสถาบันฯ
- ไปรษณีย์ ส่งมายังสถาบันฯ โดยจ่าหน้าซองถึงประธาน คณะกรรมการฯ
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB
หลักเกณฑ์การรับ-ไม่รับพิจารณาข้อร้องเรียน
ลักษณะของข้อร้องเรียนที่สถาบันฯ จะรับไว้พิจารณา
ข้อร้องเรียนที่ผู้ร้องเรียนได้กรอกข้อมูลที่จำเป็นต่อการพิจารณาลงในแบบแจ้งข้อร้องเรียนจากกองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัย หรือแบบแจ้งข้อร้องเรียน (แบบ จรร.1) จากคณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียนประจำสถาบันฯ หรือที่ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของสถาบันฯ ครบถ้วน หรือจัดทำเป็นหนังสือ โดยมีรายละเอียดและเนื้อหาที่จำเป็นต่อการพิจารณาครบถ้วนตามที่ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวทางการจัดการข้อร้องเรียน พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กำหนด ดังนี้
1. ชื่อ – นามสกุล และที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) (ถ้ามี) ของผู้รับบริการซึ่งสามารถตรวจสอบตัวตนได้
2. ระบุเรื่องอันเป็นเหตุของข้อร้องเรียน โดยระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์เกี่ยวกับข้อร้องเรียนตามสมควร
3. ใช้ข้อความสุภาพ
4. ลงลายมือชื่อของผู้รับบริการ หรือวิธีที่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้รับบริการได้
ลักษณะของข้อร้องเรียนที่สถาบันฯ จะไม่รับไว้พิจารณา
1. ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล
3. ข้อร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือเป็นข้อร้องเรียนที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
4. เรื่องที่มีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ โดยผู้รับบริการไม่ลงลายมือหรือไม่ลงชื่อจริง รวมทั้งไม่ระบุพยานหลักฐานหรือกรณีแวดล้อมอย่างชัดเจน เช่น วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ลักษณะของบุคคลผู้เป็นต้นเหตุของข้อร้องเรียน เป็นต้น เว้นแต่ เห็นว่าเรื่องตามข้อร้องเรียนมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน หรือกระทบต่อชื่อเสียงและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันฯ /มหาวิทยาลัย โดยให้เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาเป็นการเฉพาะราย
5. ข้อร้องเรียนที่หน่วยงานของรัฐอื่นได้ดำเนินการตรวจสอบ พิจารณาวินิจฉัยและสรุปการพิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นต้น
6. เป็นเรื่องที่แอบอ้างชื่อผู้อื่นเป็นผู้ร้อง โดยผู้ถูกแอบอ้างมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องที่ร้องเรียน
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB
การเก็บรักษาความลับ
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อการจัดการข้อร้องเรียนที่กระทำโดยเจตนา สุจริต คณะกรรมการฯ งานสารบรรณ หรือหน่วยงาน/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนในทุกขั้นตอนจะต้องปกปิดชื่อ ที่อยู่หรือ ข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูล และเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อร้องเรียนและเอกสารหลักฐานที่ได้รับ ได้ทราบหรืออาจได้ทราบเนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนไว้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จำเป็นแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียน โดยจำกัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ เว้นแต่ เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันฯ มหาวิทยาลัย หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เพื่อให้มีมาตรการในการรักษาความลับ คณะกรรมการฯ ต้องมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลของผู้ร้องเรียนให้มีแต่เพียงผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียน หรือเป็นการให้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานตามกฎหมายเท่านั้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีการส่งข้อร้องเรียนให้มหาวิทยาลัยพิจารณา กำหนดให้ส่งเป็นเอกสารลับทุกกรณี
Institute of Molecular Biosciences > Complaint MB