
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์
ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
ชื่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์
Professor Narattaphol Charoenphandhu, M.D., Ph.D.
Distinguished Professor of Physiology
สาขาวิชา
สรีรวิทยา / Physiology
วุฒิการศึกษา
B.Sc. (Medical Science, Hons.), M.D. (Hons.), Ph.D. (Physiology)
ผลงานวิจัย
หมายเหตุ : ข้อมูลจากหนังสือเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี พ.ศ. 2557 เผยแพร่โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ขอบเขตงานวิจัยของ ศ. ดร. นพ.นรัตถพล อยู่ใน 4 สาขาหลัก คือ สาขาชีววิทยาของกระดูก สาขาชีวฟิสิกส์ (การขนส่งไอออนและวัสดุทดแทนกระดูก) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและการแพทย์คลินิก (กลไกการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แคลเซียมสูง) และสาขาชีววิทยาของระบบประสาท (กลไกของโรคกระดูกพรุนจากความเครียดและโรคซึมเศร้า)
งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการค้นพบองค์ความรู้ใหม่
ศ. ดร. นพ.นรัตถพล เป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยในระดับสากลด้านการศึกษาทางชีวฟิสิกส์และชีววิทยาของการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้อย่างเป็นระบบ ซึ่งบูรณาการศาสตร์หลายแขนง เช่น ฟิสิกส์ ชีววิทยาระดับโมเลกุล สรีรวิทยาทางไฟฟ้า และวิทยาศาสตร์การแพทย์ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เป็นการค้นพบวิทยาการใหม่ของ ศ. ดร. นพ.นรัตถพล สรุปได้ดังนี้
1.พัฒนาแบบจำลองเพื่อแบ่งองค์ประกอบย่อยของการขนส่งแคลเซียมผ่านเยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้เกิดทฤษฎีใหม่ว่า การดูดซึมแคลเซียมของลำไส้ไม่ได้มีเพียงแค่กลไกเดียวอย่างที่เคยมีรายงานก่อนหน้านี้ แต่สามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละองค์ประกอบย่อยต้องอาศัยชุดของโปรตีนและชุดของฮอร์โมนที่จำเพาะ ซึ่งได้ผ่านการยืนยันผลทั้งในระดับ in vitro และ in vivo นอกจากนี้ ยังค้นพบหน้าที่ใหม่ของโปรตีนขนส่งแคลเซียม ได้แก่ Cav1.3 และ claudin-15 ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการดูดซึมแคลเซียมของแม่ที่กำลังให้นมบุตร ที่ผ่านมามีงานวิจัยหลายเรื่องที่สร้างมุมมองใหม่ด้านการดูดซึมแคลเซียมของทางเดินอาหาร ตัวอย่างเช่น การค้นพบความสามารถของซีคัม (cecum) ซึ่งเป็นส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ ว่ามีประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมสูงมาก หนูที่ถูกตัดลำไส้ใหญ่ส่วนซีคัมจะเป็นโรคกระดูกพรุน องค์ความรู้นี้อาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์prebiotics และ probiotics สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ใหญ่ได้
2.ศึกษาผลของภาวะเลือดเป็นกรดแบบเมแทบอลิก (metabolic acidosis) ต่อการขนส่งแคลเซียมของลำไส้ ตลอดจนกลไกในระดับเซลล์และโมเลกุล ภาวะเลือดเป็นกรดพบได้บ่อยในผู้ป่วยหลายโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรัง ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การพัฒนาวิธีการบรรเทาความเสื่อมของกระดูกที่เกิดจากกรด ด้วยการให้แคลเซียมเสริมในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลไกการขนส่งแคลเซียมที่ร่างกายมีอยู่ กล่าวคือ องค์ความรู้นี้ทำให้ทราบว่า แคลเซียมที่ให้เสริมจะต้องแตกตัวได้ความเข้มข้นในโพรงลำไส้อย่างน้อย 5 มิลลิโมลาร์ จึงจะทำให้แคลเซียมที่ให้เสริมสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญ
3.การพิสูจน์ทฤษฎีของเซลล์เยื่อบุผิวกระดูก (bone-lining cells) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนแคลเซียมระหว่างกระดูกกับพลาสมา การแลกเปลี่ยนนี้เป็นกลไกให้ร่างกายสามารถปรับระดับแคลเซียมในเลือดที่อาจสูงหรือต่ำกว่าปกติได้อย่างทันท่วงที ทำให้ไม่เกิดอันตรายถึงชีวิต ทฤษฎีเซลล์เยื่อบุผิวกระดูกเป็นความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีนักวิจัยกลุ่มใดศึกษาอย่างเป็นระบบมาก่อน งานวิจัยนี้จึงเป็นการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก
4.ศึกษาบทบาทของกีฬาและการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ (non-impact exercise) เช่น การว่ายน้ำ ต่อเมแทบอลิซึมของแคลเซียมทั้งระบบ ทั้งอัตราการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ การสะสมแคลเซียมที่กระดูก และระดับแคลเซียมในพลาสมา งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ ส่งผลต่อเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกได้ดีไม่แพ้การออกกำลังกายมาตรฐานแบบกระทบกระแทก เช่น การวิ่ง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่หักล้างความเชื่อที่ได้รับการอ้างอิงมานาน ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้จัดรูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน และผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนได้ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนารูปแบบของการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนในโรควิตกกังวล (anxiety disorder) โรคเครียด โรคธาลัสซีเมีย และโรคเบาหวาน โดยมีหลักฐานสนับสนุนทั้งในระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ และระดับสัตว์ทดลอง
5. ร่วมพัฒนาทฤษฎีการสร้างกระดูกเทียมจาก hydroxyapatite nanocomposite ซึ่งมีโปรตีนกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกฝังอยู่ภายใน โดยอาศัยนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีด้านเซลล์ชีววิทยา เพื่อใช้เสริมความแข็งแรงของกระดูก หรือใช้เพื่อเร่งการประสานกันของกระดูกภายหลังเกิดกระดูกหัก งานวิจัยส่วนนี้ร่วมมือกับ ผศ. ดร.วีรพัฒน์ พลอัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
งานวิจัยประยุกต์และการต่อยอดงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อการประยุกต์ใช้
เป้าหมายหลักของงานวิจัยของ ศ. ดร. นพ.นรัตถพล คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่มีความทันสมัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในประชากรไทย ปัญหาเรื่องภาวะกระดูกบาง (osteopenia) และกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นปัญหาที่พบมากในผู้สูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชาย และในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (post-menopausal osteoporosis) นอกจากนี้ ยังพบได้ในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร (pregnancy/lactation-induced osteoporosis) ตลอดจนพบร่วมกับพยาธิสภาพอื่น อาทิ โรคเบาหวาน ภาวะเลือดเป็นกรด โรคธาลัสซีเมีย และโรคไตวาย เป็นต้น การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนเป็นเรื่องเร่งด่วนเนื่องจากสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (ในปี 2557 มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือมากกว่า 7 ล้านคน) ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกัน องค์ความรู้เพื่อการเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ก็เป็นเป้าหมายหลักอีกประการหนึ่งของโครงการวิจัยนี้ ซึ่งมีศักยภาพในการนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬา และชะลอการลดลงของมวลกระดูกในระหว่างให้นมบุตร ตัวอย่างงานวิจัยที่ดำเนินการทั้งในระดับวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่
1.การวิจัยเพื่อค้นหาวิธีการ (proof of concept) เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเข้าสู่ร่างกายผ่านเยื่อบุลำไส้ให้ดูดซึมแคลเซียมได้สูงกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณที่รับประทาน ซึ่งในภาวะปกติระบบทางเดินอาหารจะดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณร้อยละ 15–20 ของปริมาณที่รับประทานเท่านั้น งานวิจัยในส่วนนี้ทำควบคู่ไปกับการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม ซึ่งมีการเติมสารอาหารที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม (เช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) ส่วนสารประกอบแคลเซียมที่ใช้ บางส่วนแปรรูปมาจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และบางส่วนเตรียมขึ้นในห้องปฏิบัติการ
2.การวิจัยเพื่อค้นหาสาเหตุของการสูญเสียมวลกระดูกในภาวะต่าง ๆ เช่น หลังขาดฮอร์โมนเพศหญิง อายุที่มากขึ้น และการให้นมบุตร เป็นต้น กลไกการสูญเสียมวลกระดูกในขณะให้นมบุตรนี้ยังไม่เคยมีผู้ศึกษาในเชิงลึกมาก่อน ทำให้ผลงานนี้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และได้รับเชิญให้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Trends in Endocrinology and Metabolism องค์ความรู้นี้ได้นำไปใช้พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม อาหารกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม และวิธีการเสริมธาตุแคลเซียมในอาหารได้ ศ. ดร. นพ.นรัตถพล และคณะ ได้รับทุนจาก สวทช. เพื่อดำเนินงานวิจัยระดับคลินิกทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมในอาสาสมัครชาวไทย
3.การวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระดูกเทียมเพื่อใช้เสริมความแข็งแรงของกระดูก หรือใช้เพื่อเร่งการประสานกันของกระดูกภายหลังเกิดกระดูกหัก กระดูกเทียมเหล่านี้มีประจุบนพื้นผิวที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์สร้างกระดูก นอกจากนี้ยังมีการทดลองฝังgrowth factor (เช่น bone morphogenetic protein 2) ลงในเนื้อวัสดุเพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกด้วย งานวิจัยส่วนนี้ร่วมมือกับ ผศ. ดร.วีรพัฒน์ พลอัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.การพัฒนาวิธีการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและบรรเทาโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากโรคธาลัสซีเมียชนิดเบต้า (beta-thalassemia) ภาวะเหล็กเกินในร่างกาย (iron overload) ภาวะเครียด โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) และหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าด้วย งานวิจัยในส่วนโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ดำเนินการร่วมกับ รศ. นพ.สาธิต เที่ยงวิทยาพร ศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
5. การพัฒนาเทคนิคทางชีวเคมี bioinformatics และ high-throughput technology เพื่อหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของภาวะพร่องแคลเซียม (calcium deficiency) โรคกระดูกพรุน และโรคข้อเข่าเสื่อม โดยในส่วนโรคข้อเข่าเสื่อมมีการตรวจวัด synovial fluid เพื่อหาตัวบ่งชี้ในการจัดระดับความรุนแรงของโรค และใช้ในการพยากรณ์โรค งานวิจัยในส่วนนี้ดำเนินการร่วมกับ ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
6. การวิจัยเพื่อพัฒนาสารคล้ายเอสโตรเจนจากพืชเพื่อใช้ป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งดำเนินการทั้งในระดับเภสัชเคมี เซลล์ชีววิทยา และสรีรวิทยา โดยความร่วมมือกับ ศ. ดร.สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สารประกอบหลายชนิดจากกวาวเครือขาว (เช่น puerarin) ได้รับการศึกษาในเซลล์สร้างกระดูกของหนูและ non-human primate
7. พัฒนาชุดเครื่องมือทางชีวฟิสิกส์ (ได้แก่ ชุดเครื่องมือ Ussing chamber และ current clamping apparatus) เพื่อใช้วัดอัตราการขนส่งแคลเซียมผ่านเยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีการทั่วไปถึง 10 เท่า มีความแม่นยำสูง และลดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี
งานวิจัยที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ
งานวิจัยในอนาคตแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ปัจจุบันงานทั้งสองส่วนนี้ดำเนินไปพร้อม ๆ กัน คือ งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งแตกต่างจากความรู้ที่มีอยู่เดิม และงานวิจัยที่เน้นการใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งมีความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรม
องค์ความรู้ใหม่ที่กล่าวถึงเป็นการปฏิวัติความรู้ด้านฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลแคลเซียมของร่างกาย ความรู้ในตำรามาตรฐานกล่าวว่า เมแทบอลิซึมของแคลเซียมในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนคลาสสิก 3 ชนิด ได้แก่ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน วิตามินดี และแคลซิโทนิน ซึ่งทั้งหมดสามารถกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ได้ อย่างไรก็ตาม การดูดซึมแคลเซียมอย่างไร้การควบคุมอาจทำให้เกิดอันตรายได้ จึงน่าจะมีระบบหรือฮอร์โมนที่ใช้ลดการดูดซึมแคลเซียมเช่นกัน แต่ที่ผ่านมายังไม่มีฮอร์โมนใดที่สามารถต้านฤทธิ์ของวิตามินดีได้โดยตรง ศ. ดร. นพ.นรัตถพล และคณะ ตั้งสมมติฐานว่า fibroblast growth factor 23 หรือ FGF-23 เป็น antagonistic factor ที่ทุกกลุ่มกำลังมองหา และยังมีความเป็นไปได้ว่าอาจใช้ FGF-23 เป็น biomarker เพื่อบ่งชี้ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมในอนาคต (วิจัยร่วมกับ รศ. ดร.กรรณิการ์ วงศ์ดี คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)
ในด้านของงานวิจัยที่เน้นการประโยชน์โดยตรง ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรม ตลอดจนสถาบันวิจัยและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่มีความจำเพาะกับกลุ่มผู้ใช้ อาทิ แม่ที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ผู้สูงอายุที่เป็นโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะกระดูกบาง เป็นต้น โดยแคลเซียมที่ได้นำมาจากวัสดุเหลือจากอุตสาหกรรม เช่น เกล็ดและกระดูกปลา นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ และผู้สูงอายุ อาทิ การพัฒนาวิธีการออกกำลังกายสำหรับเพิ่มความหนาแน่นกระดูกในโรคธาลัสซีเมีย (วิจัยร่วมกับ รศ. ดร. หม่อมหลวงเสาวรส สวัสดิวัฒน์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล) และโรควิตกกังวลและซึมเศร้า (วิจัยร่วมกับ ผศ. ดร.จันทริมา เจริญพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) การออกแบบคู่มือออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า (วิจัยร่วมกับ รศ. นพ.สาธิต เที่ยงวิทยาพร) และการวิจัยด้านสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรคกระดูกพรุน (วิจัยร่วมกับ ศ. ดร.สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์)
งานวิจัยอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีศักยภาพในการประยุกต์ใช้ ได้แก่ งานวิจัยเพื่อพัฒนากระดูกเทียมจาก nanomaterials ที่มีคุณสมบัติปล่อย growth factor ตามจังหวะเวลาเพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก (วิจัยร่วมกับ ผศ. ดร.วีรพัฒน์ พลอัน) และงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านเมแทบอลิซึมของแคลเซียมในสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (วิจัยร่วมกับ ผศ. ดร.ละเอียด นาคกระแสร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ในส่วนของงานวิจัยด้าน biomarker ที่กล่าวถึงข้างต้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ อาทิ high-throughput bead-array assay และ metallomics ตลอดจนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย
งานวิจัยของ ศ. ดร. นพ.นรัตถพล ที่มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางทั้งในเชิงนโยบาย สังคม และภาคธุรกิจ ได้แก่ งานวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในแม่ที่กำลังให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างให้นมบุตร ร่างกายจำเป็นต้องใช้แคลเซียมจำนวนมากเพื่อนำมาใช้สร้างน้ำนม หากแม่รับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะสลายแคลเซียมจากกระดูกมาสร้างน้ำนม ซึ่งทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือเกิดกระดูกหักได้ ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงนี้ ศ. ดร. นพ.นรัตถพล ได้เริ่มจากการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานตั้งแต่ในระดับเซลล์และโมเลกุล ซึ่งต้องบูรณาการองค์ความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น เคมี ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ bioinformatics และสรีรวิทยา จากนั้นได้นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีองค์ประกอบสอดคล้องกับการทำงานของเซลล์ในลำไส้และโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับการยืนยันว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับอนุสิทธิบัตรและอยู่ในระหว่างทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัคร นอกจากนี้ยังได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปผ่านสื่อ อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสารสุขภาพ วิทยุ และโทรทัศน์ ตลอดจนได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ภาคเอกชน (เช่น ธุรกิจฟาร์มโคนม และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร) อนึ่ง มีการนำทฤษฎีด้านชีววิทยาของกระดูกไปใช้ระดับนโยบาย โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย เป็นต้น
Selected publication (2013–present)
2017: Charoenphandhu N, Kraidith K, Lertsuwan K, Sripong C, Suntornsaratoon P, Svasti S, Krishnamra N, Wongdee K. Na+/H+ exchanger 3 inhibitor diminishes hepcidin-enhanced duodenal calcium transport in hemizygous β-globin knockout thalassemic mice. Molecular and Cellular Biochemistry 2017 (in press).
2017: Keothongkham K, Charoenphandhu N, Thongbunchoo J, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Tang IM, Pon-On W. Evaluation of bioactive glass incorporated Poly(caprolactone)-Poly(vinyl alcohol) matrix and the effect of BMP-2 modification. Materials Science & Engineering C 2017 (in press).
2017: Thammayon N, Wongdee K, Lertsuwan K, Suntornsaratoon P, Thongbunchoo J, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Na+/H+ exchanger 3 inhibitor diminishes the amino-acid-enhanced transepithelial calcium transport across the rat duodenum. Amino Acids 2017 (in press).
2017: Wongdee K, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Derangement of calcium metabolism in diabetes mellitus: negative outcome from the synergy between impaired bone turnover and intestinal calcium absorption. Journal of Physiological Sciences 2017;67(1):71–81.
2017: Nakkrasae L, Phummisutthigoon S, Charoenphandhu N. Salinity increases total body prolactin and gill and skin prolactin receptor expression in the Chinese edible frog,Hoplobatrachus rugulosus, tadpole. Aquaculture Research 2017 (in press).
2017: Charoenphandhu N, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Sa-nguanmoo P, Tanajak P, Wang X, Liang G, Li X, Jiang C, Chattipakorn N, Chattipakorn S. Fibroblast growth factor-21 restores insulin sensitivity but induces aberrant bone microstructure in obese insulin-resistant rats. Journal of Bone and Mineral Metabolism 2017 (in press).
2017: Mooyen S, Charoenphandhu N, Teerapornpuntakit J, Thongbunchoo J, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Tang IM, Pon-On W. Physico-chemical and in vitro cellular properties of different calcium phosphate-bioactive glass composite chitosan-collagen (CaP@ChiCol) for bone scaffolds. Journal of Biomedical Materials Research B 2017 (in press).
2016: Kittivanichkul D, Charoenphandhu N, Khemawoot P, Malaivijitnond S. Pueraria mirifica alleviates cortical bone loss in naturally menopausal monkeys. Journal of Endocrinology 2016;231(2):121–133.
2016: Kraidith K, Svasti S, Teerapornpuntakit J, Vadolas J, Chaimana R, Lapmanee S, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Fucharoen S, Charoenphandhu N*. Hepcidin and 1,25(OH)2D3effectively restore Ca2+ transport in b-thalassemic mice: reciprocal phenomenon of Fe2+ and Ca2+ absorption. American Journal of Physiology Endocrinology and Metabolism 2016;311(1):E214–E223.
2016: Pon-On W, Suntornsaratoon P, Charoenphandhu N, Thongbunchoo J, Krishnamra N, Tang IM. Hydroxyapatite from fish scale for potential use as bone scaffold or regenerative material. Materials Science and Engineering C 2016;62:183–189.
2016: Suthon S, Jaroenporn S, Charoenphandhu N, Suntornsaratoon P, Malaivijitnond S. Anti-osteoporotic effects of Pueraria candollei var. mirifica on bone mineral density and histomorphometry in estrogen-deficient rats. Journal of Natural Medicines 2016;70(2):225–233.
2016: Teerapornpuntakit J, Wongdee K, Krishnamra N, Charoenphandhu N. Expression of osteoclastogenic factor transcripts in osteoblast-like UMR-106 cells after exposure to FGF-23 or FGF-23 combined with parathyroid hormone. Cell Biology International 2016;40(3):329–340.
2016: Wongdee K, Teerapornpuntakit J, Sripong C, Longkunan A, Chankamngoen W, Keadsai C, Kraidith K, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Intestinal mucosal changes and upregulated calcium transporter and FGF-23 expression during lactation: contribution of lactogenic hormone prolactin. Archives of Biochemistry and Biophysics 2016;590(1):109–117.
2016: Potikanond S, Rattanachote P, Pintana H, Suntornsaratoon P, Charoenphandhu N, Chattipakorn N, Chattipakorn S. Obesity does not aggravate osteoporosis or osteoblastic insulin resistance in orchiectomized rats. Journal of Endocrinology 2016;228(2):85–95.
2016: Thiengwittayaporn S, Fusakul Y, Kangkano N, Jarupongprapa C, Charoenphandhu N. Hand-held navigation may improve accuracy in minimally invasive total knee arthroplasty: a prospective randomized controlled trial. International Orthopaedics 2016;40(1):51–57.
2016: Nakkrasae L, Phummisutthigoon S, Charoenphandhu N. Low salinity increases survival, body weight, and development in tadpoles of the Chinese edible frog Hoplobatrachus rugulosus. Aquaculture Research 2016;47(10):3109–3118.
2015: Thongchote K, Svasti S, Teerapornpuntakit J, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Bone microstructural defects and osteopenia in hemizygous bIVSII-654knockin thalassemic mice: sex-dependent changes in bone density and osteoclast function. American Journal of Physiology Endocrinology and Metabolism 2015;309(11):E936–E948.
2015: Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Positive long-term outcomes from presuckling calcium supplementation in lactating rats and the offspring. American Journal of Physiology Endocrinology and Metabolism 2015;308(11):E1010–E1022.
2015: Nakkrasae L, Wisetdee K, Charoenphandhu N. Osmoregulatory adaptations of freshwater air-breathing snakehead fish (Channa striata) after exposure to brackish water. Journal of Comparative Physiology – B 2015;185(5):527–537.
2015: Wongdee K, Charoenphandhu N*. Vitamin D-enhanced duodenal calcium transport. Vitamins and Hormones 2015;98:407–440.
2015: Lertsinthai P, Charoenphandhu J, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Charoenphandhu N. Voluntary wheel running mitigates the stress-induced bone loss in ovariectomized rats. Journal of Bone and Mineral Metabolism 2015;33(3):261–269.
2014: Lapmanee S, Charoenphandhu N*, Aeimlapa R, Suntornsaratoon P, Wongdee K, Tiyasatkulkovit W, Kengkoom K, Chaimongkolnukul K, Seriwatanachai D, Krishnamra N. High dietary cholesterol masks type 2 diabetes-induced osteopenia and changes in bone microstructure in rats. Lipids 2014;49(10):975–986.
2014: Aeimlapa R, Wongdee K, Charoenphandhu N, Suntornsaratoon P, Krishnamra N. Premature chondrocyte apoptosis and compensatory upregulation of chondroregulatory protein expression in the growth plate of Goto-Kakizaki diabetic rats. Biochemical and Biophysical Research Communications 2014;452(3):395–401.
2014: Tiyasatkulkovit W, Malaivijitnond S, Charoenphandhu N, Havill LM, Ford AL, VandeBerg JL. Pueraria mirifica extract and puerarin enhance proliferation and expression of alkaline phosphatase and type I collagen in primary baboon osteoblasts. Phytomedicine 2014;21(12):1498–1503.
2014: Thongchote K, Svasti S, Teerapornpuntakit J, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Running exercise alleviates trabecular bone loss and osteopenia in hemizygous β-globin knockout thalassemic mice. American Journal of Physiology Endocrinology and Metabolism 2014;306(12):E1406–E1417.
2014: Teerapornpuntakit J, Klanchui A, Karoonuthaisiri N, Wongdee K, Charoenphandhu N*. Expression of transcripts related to intestinal ion and nutrient absorption in pregnant and lactating rats as determined by custom-designed cDNA microarray. Molecular and Cellular Biochemistry 2014;391(1–2):103–116.
2014: Pon-On W, Charoenphandhu N, Teerapornpuntakit J, Thongbunchoo J, Krishnamra N, Tang IM. Mechanical properties, biological activity and protein controlled release by poly(vinyl alcohol)-bioglass/chitosan-collagen composite scaffolds: a bone tissue engineering applications. Materials Science and Engineering C 2014;38:63–72.
2014: Suntornsaratoon P, Kraidith K, Teerapornpuntakit J, Dorkkam N, Wongdee K, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Pre-suckling calcium supplementation effectively prevents the lactation-induced osteopenia in rats. American Journal of Physiology Endocrinology and Metabolism 2014;306(2):E177–E188.
2014: Suntornsaratoon P, Wongdee K, Tiyasatkulkovit W, Ampawong S, Krishnamra N, Kengkoom K, Charoenphandhu N*. Defective bone microstructure in hydronephrotic mice: a histomorphometric study in ICR/Mlac-hydro mice. Anatomical Record 2014;297(2):208–214.
2013: Pon-On W, Charoenphandhu N, Teerapornpuntakit J, Thongbunchoo J, Krishnamra N, Tang IM. Physicochemical and biochemical properties of iron-loaded silicon substituted hydroxyapatite (FeSiHAp). Materials Chemistry and Physics 2013;141(2–3):850–860.
2013: Khuituan P, Wongdee K, Jantarajit W, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Fibroblast growth factor-23 negates 1,25(OH)2D3-induced intestinal calcium transport by reducing the transcellular and paracellular calcium fluxes. Archives of Biochemistry and Biophysics 2013;536(1):46–52.
2013: Wongdee K, Thonapan N, Saengamnart W, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Bromocriptine modulates the expression of PTHrP receptor, Indian hedgehog, and Runx2 proteins in the growth plate of lactating rats. Molecular and Cellular Biochemistry 2013;381(1–2):191–199.
2013: Lapmanee S, Charoenphandhu J, Charoenphandhu N. Beneficial effects of fluoxetine, reboxetine, venlafaxine, and voluntary running exercise in stressed male rats with anxiety- and depression-like behaviors. Behavioural Brain Research 2013;250(1):316–325.
2013: Charoenphandhu N*, Kraidith K, Teerapornpuntakit J, Thongchote K, Khuituan P, Svasti S, Krishnamra N. 1,25-Dihydroxyvitamin D3-induced intestinal calcium transport is impaired in β-globin knockout thalassemic mice. Cell Biochemistry & Function 2013;31(8):685–691.
2013: Pon-On W, Charoenphandhu N, Teerapornpuntakit J, Thongbunchoo J, Krishnamra N, Tang IM. In vitro study of vancomycin release and osteoblast-like cell growth on structured calcium phosphate-collagen. Materials Science and Engineering C 2013;33(3):1423–1431.
2013: Charoenphandhu N, Nuntapornsak A, Wongdee K, Krishnamra N, Charoenphandhu J. Upregulated mRNA levels of SERT, NET, MAOB and BDNF in various brain regions of ovariectomized rats exposed to chronic aversive stimuli. Molecular and Cellular Biochemistry 2013;375(1–2):49–58.
2013: Dorkkam N, Wongdee K, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Charoenphandhu N*. Prolactin stimulates the L-type calcium channel-mediated transepithelial calcium transport in the duodenum of male rats. Biochemical and Biophysical Research Communications 2013;430(2):711–716.
2013: Wongdee K, Teerapornpuntakit J, Siangpro C, Chaipai S, Charoenphandhu N*. Duodenal villous hypertrophy and upregulation of claudin-15 protein expression in lactating rats. Journal of Molecular Histology 2013;44(1):103–109.
2013: Pon-On W, Charoenphandhu N, Tang IM, Teerapornpuntakit J, Thongbunchoo J, Krishnamra N. Biocomposite of hydroxyapatite-titania rods (HApTiR): physical properties and in vitro study. Materials Science and Engineering C 2013;33(1):251–258.
2013: Wongdee K, Charoenphandhu N*. Regulation of epithelial calcium transport by prolactin: from fish to mammals. General and Comparative Endocrinology 2013;181:235–240.
For the complete publication list, please see
Contact Address: Institute of Molecular Biosciences, Mahidol University
Room: A416
Phone: (66 2) 441 9003-6 Ext. 1447
E-Mail: narattaphol.cha@mahidol.ac.th, directmb@mahidol.ac.th