
SDG 4: Quality education
สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all)
+ งานวิจัย / การสำรวจ / ผลการศึกษา
+ Conference / Meeting
Activity / Lecture (4 รายการ)
1. กิจกรรมโครงการ: การอบรมเชิงปฎิบัติการ “MB Sciences Program 2019 “

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project name): |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB Sciences Program 2019 |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย SWADAYA GUNUNG JATI หรือ มหาวิทยาลัย Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเชีย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB Sciences Program 2019” สำหรับนักศึกษาแพทย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์ มีทักษะวิทยาศาสตร์ด้าน ชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และสามารถนำความรู้ไปใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Period of activities/Projects): |
จัด 3 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน มกราคม กรกฎาคม และพฤศจิกายน |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project location): |
ห้องบรรยาย C405 และห้องปฏิบัติการ D401 สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย (Related departments/Stakeholders): |
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย SWADAYA GUNUNG JATI หรือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเชีย |
วัตถุประสงค์ (Objectives): |
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรมระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในมหาวิทยาลัย 2. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Project activities): |
การบรรยายหลักการโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และการฝึกปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แบ่งการอบรมเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก ให้นักศึกษาเข้าร่วมฟังภาคบรรยายและฝึกอบรมภาคปฏิบัติการพร้อมกัน เป็นเวลา 5 วัน ช่วงที่สอง ให้นักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการทางด้านการแพทย์ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ด้านการวิจัยทางการแพทย์ |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target groups / Participants): |
นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย SWADAYA GUNUNG JATI หรือมหาวิทยาลัย Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเชีย |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
10-15 ราย ต่อครั้ง |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม (Results and outcomes of the project/activity): |
ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรมร่วมกับนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference operation): |
https://mb.mahidol.ac.th/en/quality-education/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() ![]() |
2.กิจกรรม : ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากเงินรายได้หลักสูตรสาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project name): |
ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากเงินรายได้หลักสูตรสาขา วิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มีนโยบายเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักศึกษาที่มีศักยภาพทางการศึกษา แต่มีข้อจำกัดในการศึกษาต่อ เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ให้สามารถเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตร สาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของสถาบันฯ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรของสถาบันฯ ได้พิจารณาถึงความสำคัญของการให้ทุนสนับสนุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จึงได้ริเริ่มโครงการทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากเงินรายได้หลักสูตรขึ้น เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่นักศึกษาที่เริ่มเข้าศึกษาในปีแรก โดยใช้เงินรายได้ของหลักสูตรฯ เป็นแหล่งทุนสนับสนุนดังกล่าว |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Period of activities/Projects): |
จัด 3 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน มกราคม กรกฎาคม และพฤศจิกายน |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project location): |
อาคารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย (Related departments/Stakeholders): |
นักศึกษา |
วัตถุประสงค์ (Objectives): |
1. เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนในชั้นปีที่ 1 ภาคต้นและภาคปลายของปีการศึกษาที่เข้าศึกษา 2. เพิ่มโอกาสทางการศึกษา |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Project activities): |
จัดทำโครงการ จัดทำประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ทุน แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทุน ขออนุมัติในหลักการใช้เงินรายได้หลักสูตรฯ ประกาศสมัครรับทุน สัมภาษณ์ แจ้งผลการพิจารณาให้ทุน เบิก-จ่าย |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target groups / Participants): |
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
สนับสนุนทุนทั้งหมดไม่เกิน 6 ทุน ต่อภาคการศึกษา |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม (Results and outcomes of the project/activity): |
นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาอย่างต่อเนื่อง |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference operation): |
ประกาศสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ประจำปีการศึกษา 2562 ประกาศสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง รายชื่นักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2562 |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() |
3.กิจกรรม : การอบรมเชิงปฏิบัติการ Student Science Training Program 2019

หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project name): |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ Student Science Training Program 2019 |
ที่มาและความสำคัญ (Background and importance): |
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล เป็นสถาบันวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ถ่ายทอดความรู้ และมีบทบาทในการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (นานาชาติ) ที่สนใจทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโอกาสเข้ารับการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิจัย |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Period of activities/Projects): |
กรกฎาคม 2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity/Project location): |
ห้องบรรยาย C405 และห้องปฏิบัติการ D401 อาคารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย (Related departments/Stakeholders): |
หน่วยบริหารจัดการนวัตกรรมและบริการวิชาการ งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และ นักเรียน ระดับ Grade 9-12 โรงเรียนนานาชาติ |
วัตถุประสงค์ (Objectives): |
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรมระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในโรงเรียน 2. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Project activities): |
การอบรมจะจัดขึ้นเป็นเวลา 10 วัน ซึ่งประกอบด้วยภาคบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target groups / Participants): |
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย Grade 9-12 โรงเรียนนานาชาติ |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Number of participants): |
36 ราย |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม (Results and outcomes of the project/activity): |
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ ภาคทฤษฎีด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรม 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และพันธุวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการวิจัยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน (Web reference operation): |
https://mb.mahidol.ac.th/en/student-science-training-program-2020/ |
รูปภาพประกอบ (Picture): |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (Relevant SDG goals): |
![]() |
4.กิจกรรม : การอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB-KIS Molecular Biology & Genetic Engineering 2019”
