Click to register List of attendees | โครงการค่ายตามหมอ (วิทย์) วิเคราะห์โรค-PR
การอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายตามหมอ (วิทย์) วิเคราะห์โรค ปี 2567
วันที่ 25-26 เมษายน 2567 เวลา 08.30–16.00 น.
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณสิรินทร์ พิบูลนิยม
และห้องปฏิบัติการ A111, A112, C405, C410, D401-01 และD401-02
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
หมดเขตรับสมัคร ภายในวันที่ 10 เมษายน 2567
สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์พิจารณาอนุญาตให้เข้าฟังบรรยายเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น และการตัดสินของสถาบันฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ อาจมีความผิดตามกฎหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : นางสาวภานุชนาฏ ขำต้นวงษ์ โทร 08 8098 2766“การลงทะเบียนจะเสร็จสมบูรณ์ต่อเมื่อได้โอนเงินค่าลงทะเบียน และส่งเอกสาร pay-in-slip”
ผู้ลงทะเบียนที่ประสงค์ยกเลิกการอบรม
จะต้องแจ้งผู้ประสานงานก่อนวันจัดอบรม ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน (นับรวมวันหยุดราชการ เช่น จัดอบรมวันที่ 14 ก.พ. 67 จะต้องแจ้งอย่างช้าที่สุดคือวันที่ 7 ก.พ. 67) โดยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล จะคืนเงินค่าลงทะเบียนให้กึ่งหนึ่ง กรณีไม่ได้แจ้งความประสงค์ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน สถาบันฯ อาจพิจารณาไม่คืนเงินค่าลงทะเบียน โดยสงวนสิทธิให้ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ และให้คำสั่งดังกล่าวถือเป็นที่สุด
- รายละเอียดเนื้อหาการอบรม
- ฐานปฏิบัติการที่ 1
- ฐานปฏิบัติการที่ 2
- ฐานปฏิบัติการที่ 3
- ฐานปฏิบัติการที่ 4
- เงื่อนไขในการลงทะเบียน
- ขั้นตอนการสมัครเข้าอบรม
- แนวทางการอบรม
สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติในรูปแบบบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับ การตรวจร่างกายเบื้องต้น สรีรวิทยาเกี่ยวกับระบบประสาท และวิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล มาประยุกต์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าว จัดโดยทีมงานวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักประสาทวิทยาศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กิจกรรมประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ แบ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นฐาน จำนวน 4 ฐาน ที่จำลองผู้ป่วยสมมุติที่มาพบแพทย์จำนวน 3 ราย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการอาหารเป็นพิษ ผู้ป่วยที่มีอาการซีดเหนื่อยเรื้อรัง และการตรวจผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานาน
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง เพื่อการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ที่เข้ามาปรึกษาแพทย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการวินิจฉัยโรค วินิจฉัยแยกโรค ประเมินสุขภาพ ประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสม และติดตามผลการรักษา ทักษะที่จำเป็นสำหรับการตรวจร่างกาย คือ ความชั่งสังเกต การตั้งสมมุติฐานที่แม่นยำ นำประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจำเพาะทางอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีความรวดเร็วในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด พื้นฐานการตรวจร่างกาย ได้แก่ การซักประวัติทางคลินิก การตรวจสัญญาณชีพและการหายใจ การตรวจเยื่อบุภายในช่องปากและคอ การตรวจขนาดหรือการบาดเจ็บของอวัยวะภายในช่องท้อง การตรวจภาวะซีดเบื้องต้น นอกจากนี้ยัง สาธิตวิธีการประมวลผลการวิเคราะห์จากการตรวจร่างกายเบื้องต้นสู่การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการประจำที่มักใช้บ่อย ได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อหาค่าสัมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจระดับไขมันและระดับกลูโคสเพื่อประเมินการเป็นภาวะไขมันสูงและเบาหวาน การตรวจเอนไซม์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตับ การตรวจระดับโปรตีนและการตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไต การตรวจระบบภูมิคุ้มกันและเชื้อโรคเพื่อประเมินระบบภูมิคุ้มกันและภาวะการติดเชื้อ
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการตรวจวิเคราะห์ระดับความเครียดและการประเมินความเครียดจากสถานการณ์จำลอง โดยอาสาสมัครจากผู้เข้าอบรมที่สนใจจะเข้าทำการทดสอบทางการแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานและไม่สามารถทำงานต่อเนื่องได้ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้เทคนิคทางการแพทย์สำหรับการตรวจและประเมินความเครียด ได้แก่ การทำแบบประเมินความเครียดเพื่อประเมินตนเอง ชมสาธิตขั้นตอนการวัดความเครียด จากการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีวภาพของร่างกาย (Biomarkers of Psychological stress) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความดันโลหิต และความต่างศักย์ของผิวหนัง
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง กรณีที่ผู้ป่วยเด็กมาพบแพทย์ด้วยภาวะซีด มีอาการเหนื่อยเรื้อรัง เป็นผลต่อการเรียนในวิชาพละศึกษา ทำให้แพทย์สงสัยว่า ผู้ป่วยอาจเป็นโรคธาลัสซีเมีย จึงต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกทักษะทางห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาในการเตรียมสเมียร์เลือด (blood smear) และการย้อมเพื่อวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของเม็ดเลือด ได้เยี่ยมชมเรียนรู้การตรวจนับเม็ดเลือดแบบสมบูรณ์ (complete blood count; CBC) การตรวจหาชนิดฮีโมโกลบินและการตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุลเพื่อระบุยีนธาลัสซีเมียที่ห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ทางห้องปฏิบัติการระดับโมเลกุลเพื่อจำแนกพืชมีพิษและไม่มีพิษจากสถานการณ์จำลอง พืชพิษบางชนิดมีลักษณะภายนอกคล้ายกับพืชที่ไม่มีพิษ หากไม่มีความชำนาญจะไม่สามารถแยกชนิดได้ กรณีศึกษา คือ เมื่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากอาหารเป็นพิษ จากการสักประวัติทางคลินิก ทราบว่าผู้ป่วยทานพืชป่าที่เก็บมาเอง โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพืชที่ทานได้ เทคนิคทางชีวโมเลกุล ที่เรียกว่า DNA barcode เป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในการจำแนกชนิดสิ่งมีชีวิตระดับ species ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ การฝึกภาคปฏิบัติการนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกทักษะทางห้องปฏิบัติการตรวจจำแนกชนิดพืชโดยใช้เทคนิค DNA barcode ด้วยตนเอง และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้ เพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์อย่างเหมาะสมต่อไป
25